![]() |
ขอบคุณภาพจาก http://www.amplysoft.com/knowledge/ |
หากเราจะเปรียบภาษากับสิ่งหนึ่ง ภาษาก็คงเปรียบเหมือนเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
สื่อความหมาย สื่อความรู้สึกนึกคิด ซึ่งภาษาที่มนุษย์เราใช้ติดต่อสื่อสารกันทุกวันนี้
เรียกว่าภาษาธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น
ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน เป็นต้น นอกจากมนุษย์จะมีภาษาไว้ใช้แล้ว รู้หรือไม่ว่าสิ่งไม่มีชีวิตที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ก็มีภาษาเพื่อติดต่อ(กับคอมพิวเตอร์)ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์นี้จะเป็นภาษาประดิษฐ์ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฏเกณฑ์ตายตัวและจำกัด
คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน ภาษาประดิษฐ์นี้มีความแตกต่างจากภาษาธรรมชาติตรงที่ภาษาธรรมขาตินั้น
มีขอบเขตกว้างมาก กฏเกณฑ์ ก็ขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่ม
ไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนกับภาษาคอมพิวเตอร์
อืมมม....ชักอยากรู้แล้วสิว่า
ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นเป็นยังไงบ้างจะซับซ้อนปวดหัวเหมือนภาษามนุษย์เรามั้ยน้า
มาดูกันดีกว่า
ภาษาคอมพิวเตอร์
อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง
1. ภาษาเครื่อง
ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้
ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ
ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด
ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก
นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก
ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
2.
ภาษาระดับต่ำ
ภาษาระดับต่ำนี้จะมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน
การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ
ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ บางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า “ภาษาอิงเครื่อง”
(Machine – Oriented Language) ตัวอย่าง เช่น ภาษาแอสเซมบลี
3.
ภาษาระดับสูง
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง
ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ได้แก่ ภาษาซี (C)
ภาษาซี-พลัสพลัส
(C++) ภาษาจาวา (Java) ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล
ภาษาวิชวลเบสิก การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ และภาษาเดลฟาย
- ภาษาซีและซี-พลัสพลัส(C/C++) เป็นภาษาที่มีใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระดับ เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่ายทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็ว ในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ นอกจากนี้ ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรม เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า ภาษาซีพลัสพลัส
- ภาษาซีชาร์ป ( C#) ถูกพัฒนามาจากภาษาซี-พลัสพลัส(C++) และมีโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ (object-oriented programming) โดยใช้ Visual Studio เป็นเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Visual Studio เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยาก
- ภาษาจาวา(Java) เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่มีการนำภาษาจาวามาใช้งาน จะเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
อู้หูวววว เท่าที่ดูกันไปคร่าวๆ จะเห็นได้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์นี้มีเยอะแยะมากมายแต่ภาษาหนึ่งที่ฉันสนใจและจะมาอธิบายรายละเอียดก็คือภาษาJavaนั่นเอง
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่าว่า ภาษาจาวามีประวัติความเป็นมาอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้ว มีรูปแบบคำสั่ง คือ javac FileName.java เมื่อ FileName.java คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ที่มีนามสกุล java ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการคอมไพล์ จะได้ไฟล์ไบต์โค้ดที่ชื่อเดียวกับชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น javac TestJava.java หลังจากการคอมไพล์จะได้ไฟล์ TestJava.class ข้อสำคัญในการคอมไพล์ไฟล์ซอร์สโค้ด คือต้องพิมพ์ชื่อไฟล์พร้อมนามสกุลเป็น java เสมอ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามการตั้งชื่อคลาส
ขอบคุณvideoจากhttps://www.youtube.com/watch?v=a1LX0bieeSg
ที่มา
http://krubpk.com/com_1/Content/Unit13.htm
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่าว่า ภาษาจาวามีประวัติความเป็นมาอย่างไร
![]() |
ขอบคุณภาพจาก http://share.olanlab.com/th/it/blog/view/37 |
ภาษา Java |
Java เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนคำสั่งสั่งงานคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาโดย
เจมส์ กอสลิง และวิศวกรของ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ในปีค.ศ.1991
ปัจจุบันเป็นส่วนนึงของออราเคิล ก่อนจะได้ชื่อว่า Java เดิมทีภาษานี้เรียกว่า ภาษา Oak ซึ่งตั้งชื่อตามต้นไม้โอ๊ก
แต่มีปัญหาทางลิขสิทธิ์จึงเปลี่ยนเป็น Java ซึ่งแปลว่า "กาแฟ" แทน
ดังนั้นเราจึงเห็นโลโก้เป็นรูปถ้วยกาแฟ ภาษา Java ยังถูกพัฒนาจนถึงปัจจุบันโดยทีมของออราเคิล ภาษาJavaเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ
โดยมีเป้าหมายการทำงานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆได้อย่างกว้างขวาง
และมีประสิทธิภาพ ใช้เวลาน้อย รวดเร็วในการพัฒนาโปรแกรม
และสามารถเชื่อมต่อไปยังแพล็ตฟอร์ม (Platform) อื่นๆได้ง่าย
Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งที่มีลักษณะสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
(OOP : Object-Oriented
Programming) ที่ชัดเจน
โปรแกรมต่าง ๆ ถูกสร้างภายในคลาส (Class) โปรแกรมเหล่านั้นเรียกว่า Method หรือ Behavior โดยปกติจะเรียกแต่ละ Class ว่า Object โดยแต่ละ Object มีพฤติกรรมมากมาย
โปรแกรมที่สมบูรณ์จะเกิดจากหลาย object หรือหลาย
Class มารวมกัน โดยแต่ละ Class จะมี Method หรือ Behavior แตกต่างกันไป
รู้ประวัติแล้ว ไปดูกันว่าการเขียนภาษาจาวานั้นมีstepอย่างไรบ้าง
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการพิมพ์คำสั่งต่างๆ ตามหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java โดยใช้เอดิเตอร์ (Editor) หรือโปรแกรมที่สามารถพิมพ์ข้อความ (Text Editor) และสามารถบันทึกไฟล์เป็นรหัสแอสกี (ASCII) ได้ เช่น โปรแกรม Notepad หรือ โปรแกรม Editplus เป็นต้น หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อคลาสของ Java และใช้นามสกุลไฟล์เป็น java ตัวอย่างเช่น TestJava.java
ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการพิมพ์คำสั่งต่างๆ ตามหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java โดยใช้เอดิเตอร์ (Editor) หรือโปรแกรมที่สามารถพิมพ์ข้อความ (Text Editor) และสามารถบันทึกไฟล์เป็นรหัสแอสกี (ASCII) ได้ เช่น โปรแกรม Notepad หรือ โปรแกรม Editplus เป็นต้น หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อคลาสของ Java และใช้นามสกุลไฟล์เป็น java ตัวอย่างเช่น TestJava.java
![]() |
ขอบคุณภาพจาก http://settawut123456.blogspot.com/2013/05/java.html |
ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้ว มีรูปแบบคำสั่ง คือ javac FileName.java เมื่อ FileName.java คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ที่มีนามสกุล java ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการคอมไพล์ จะได้ไฟล์ไบต์โค้ดที่ชื่อเดียวกับชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น javac TestJava.java หลังจากการคอมไพล์จะได้ไฟล์ TestJava.class ข้อสำคัญในการคอมไพล์ไฟล์ซอร์สโค้ด คือต้องพิมพ์ชื่อไฟล์พร้อมนามสกุลเป็น java เสมอ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามการตั้งชื่อคลาส
ขั้นตอนที่ 3 ทำการรันโปรแกรม เพื่อดูผลลัพธ์ทางจอภาพโดยการรันไฟล์ไบต์โค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้วซึ่งมีรูปแบบคำสั่งคือ java FileName เมื่อ FileName คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ไม่ต้องมีนามสกุล
ดังนั้นการรันโปรแกรมเพียงแค่พิมพ์ชื่อไฟล์ไม่ต้องพิมพ์นามสกุลของไฟล์ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น java TestJava เมื่อ TestJava คือชื่อไฟล์ TeatJava.class
ดังนั้นการรันโปรแกรมเพียงแค่พิมพ์ชื่อไฟล์ไม่ต้องพิมพ์นามสกุลของไฟล์ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น java TestJava เมื่อ TestJava คือชื่อไฟล์ TeatJava.class
![]() |
ขอบคุณภาพจาก http://settawut123456.blogspot.com/2013/05/java.html |
เอ...จริงๆแล้วก่อนหน้านี้ภาษาก็มีตั้งมากมาย
ทำไมถึงเกิดภาษาจาวาขึ้นมาอีก แสดงว่ามันต้องมีข้อดีที่ไม่เหมือนภาษาอื่นๆแน่เลย
ว่าแต่จะมีข้อดีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
ข้อดีของภาษา
Java ได้แก่
1. ภาษา Java เป็นภาษาโปรแกรมที่ง่ายในการเรียนรู้
2. ภาษา Java เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ OOP (Object-Oriented Programming)
3. ภาษา Java เป็นอิสระต่อแพล็ตฟอร์ม (Java is Platform-Independent)
4.ภาษา Java มีระบบการทำงานและมีระบบความปลอดภัยที่ดี
สำหรับใครที่อ่านผ่านตัวอักษร
และดูจากรูปแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็สามารถดูvideoการเขียน
โปรแกรมภาษาจาวาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มความเข้าใจที่ข้างล่างนี้เลยค่า
ขอบคุณvideoจากhttps://www.youtube.com/watch?v=a1LX0bieeSg
ที่มา
http://krubpk.com/com_1/Content/Unit13.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น