![]() |
(ขอบคุณภาพจาก http://www.sahavicha.com/) |
หลังจากที่บทความก่อนหน้านี้
เป็นแนวที่ให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจและข้อมูลต่างๆกันไปแล้ว
วันนี้เราจะนำทุกท่านเข้าสู่แนววิชาการอันซีเรียส
ซึ่งบทความในบล็อกนี้ก็จะเป็นการนำข้อสอบ ONET ม.6
วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมาวิเคราะห์กันค่ะ
ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกัน!!!!!!
1). ทำไมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงใช้ระบบเลขฐานสอง
1.เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ใช้ภาษาเครื่อง
2.เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ไม่เข้าใจภาษามนุษย์
3.เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบแอนะล็อก
4.เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทิลโดยใช้แรงดันไฟฟ้าแสดงสถานะเพียงสองสถานะ
วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อ1 และ ข้อ2 หากจะพูดลอยๆจริงๆแล้วก็ถูกแต่ว่า
คำตอบนั้นไม่ได้สัมพันธ์กับคำถามเลย
ข้อ3
ระบบที่ใช้เลขฐานสองนั้นจะเป็นระบบดิจิทัลไม่ใช่แอนะล็อก
ข้อ4 สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
ระบบดิจิทัลที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบที่ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ
ซึ่งต่างกับระบบแอนะล็อกดั้งเดิม
ที่ทำงานโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากระบบดิจิทัลทำงานโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ
เราจึงสามารถใช้ระบบเลขฐานสอง (เลข 0 กับ เลข 1)
แทนแรงดันไฟฟ้าสองระดับนั้น
ดังนั้น
ข้อ4 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
2).ข้อใดเป็นความหมายของโปรแกรมภาษาระดับสูง
1.ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน เช่น ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย เปนต้น
2. ภาษาที่ประกอบด้วยตัวเลขฐานสองซึ่งคอมพิวเตอร์ใช้ประมวลผลได้ทันที
3. ภาษาที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนคำสั่งมาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
4. ภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องหรือที่เรียกว่า
ภาษาอิงเครื่อง (machine-oriented
language)
วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อ1
ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ
ข้อ2
ภาษาที่ใช้คำสั่งที่ประกอบด้วยเลขฐานสองเป็นภาษาโปรแกรมระดับต่ำ
ข้อ3
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง
ๆ ในภาษาอังกฤษ
ข้อ4
ภาษาอิงเครื่องเป็นภาษาโปรแกรมระดับต่ำ
ดังนั้น
ข้อ3 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
3). ข้อใดเป็นระบบปฏิบัตการทั้งหมด
1. Unix ,
Mac OS , Microsoft Office
2. Linux ,
Windows , Mac OS , Symbian
3. PDA , WWW
, Linux , Windows
4. BIOS ,
Symbian , IPX , RAM
วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อ1
Microsoft Office ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ข้อ2
Linux , Windows , Mac OS , Symbian คือระบบปฏิบัติการทั้งหมด
ข้อ3. PDA , WWW ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ข้อ4. BIOS , IPX , RAM ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
ดังนั้น
ข้อ2 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
4). ความละเอียดของจอภาพสามารถบอกได้
ด้วยปัจจัยในข้อใด
1. CRT
2. Dot pitch
3. Refresh
rate
4. Color
quality
วิเคราะห๋ข้อสอบ
ข้อ1. CRT เป็นชนิดของจอชนิดหนึ่งที่รับสัญญาณภาพแบบแอนะล็อก
ข้อ2. Dot pitch คือ
จุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด
ภาพที่ปรากฏบนจอภาพจะยิ่งคมชัดและละเอียดมากขึ้นเท่านั้น
ข้อ3. Refresh rate คือ
อัตราความเร็วที่เครื่องสามารถสร้างภาพใหม่ ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
อัตราความเร็ว/ช้า ของการสร้างภาพใหม่นี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอด้วย
ข้อ4. Color quality คือ คุณภาพสี
ดังนั้น
ข้อ2 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
5). การกระทำใดจัดเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น
1. ซื้อแผ่นซีดีเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์มาตัดต่อเพื่อประกอบงาน
2. ใช้ภาพจากเว็บไซต์ของเพื่อนโดยอ้างอิงที่มาของภาพดังกล่าว
3. ให้ผู้อื่นถ่ายภาพวิดีโอและนำมาตัดต่อใหม่ด้วยตนเอง
4. ใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่อยู่ในช่วงทดลองใช้งาน
30 วัน
วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อ1
ถึงแม้เพลงจะถูกลิขสิทธิ์แต่นำมาตัดต่อเพื่อใช้ในงานของตนเองโดยที่ไม่บอกว่าให้เครดิตหรือแหล่งที่มา
ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อ2
มีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาแล้วดังนั้นจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อ3
การให้ผู้อื่นถ่ายภาพวิดีโอให้เหมือนเป็นการวานให้ช่วยมากกว่า
ข้อ4
ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิเนื่องจากได้มีการเปิดให้ทดลองเพื่อให้ผู้ใช้ได้ลอง
ดังนั้น
ข้อ1 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
เห็นข้อสอบแบบนี้แล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้างคะ
ไม่ยากเลยใช่ม้าา555 ( ถ้าเรามีความรู้มากพอและตรงจุด)
เอาจริงๆเราก็ไม่รู้เลยว่าที่เราอ่านมานั้นจะตรงแนวข้อสอบบ้างรึเปล่า
ฉะนั้นเพื่อเป็นการเซฟตัวเองให้ได้มากที่สุดเราก็ควรอ่านหนังสือหรือหาความรู้จากการปฏิบัติเยอะๆ
มีความรู้เยอะย่อมเป็นประโยชน์อยู่แล้วเนอะ
สู้ๆเด้อออ
ที่มา
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1470.0
https://banmhanschool.wordpress.com/
http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340202526/lesson7.html
http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/dot-pitch
http://www.vcharkarn.com/vblog/91812
http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/refresh-rate
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น