วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์( Java )




ขอบคุณภาพจาก http://www.amplysoft.com/knowledge/



หากเราจะเปรียบภาษากับสิ่งหนึ่ง ภาษาก็คงเปรียบเหมือนเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร สื่อความหมาย สื่อความรู้สึกนึกคิด ซึ่งภาษาที่มนุษย์เราใช้ติดต่อสื่อสารกันทุกวันนี้ เรียกว่าภาษาธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน เป็นต้น นอกจากมนุษย์จะมีภาษาไว้ใช้แล้ว  รู้หรือไม่ว่าสิ่งไม่มีชีวิตที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ก็มีภาษาเพื่อติดต่อ(กับคอมพิวเตอร์)ด้วยเช่นเดียวกัน  ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์นี้จะเป็นภาษาประดิษฐ์ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฏเกณฑ์ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน  ภาษาประดิษฐ์นี้มีความแตกต่างจากภาษาธรรมชาติตรงที่ภาษาธรรมขาตินั้น มีขอบเขตกว้างมาก   กฏเกณฑ์ ก็ขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้แต่ละกลุ่ม  ไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนกับภาษาคอมพิวเตอร์



อืมมม....ชักอยากรู้แล้วสิว่า ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นเป็นยังไงบ้างจะซับซ้อนปวดหัวเหมือนภาษามนุษย์เรามั้ยน้า  มาดูกันดีกว่า


ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง
 1. ภาษาเครื่อง
ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
2. ภาษาระดับต่ำ
ภาษาระดับต่ำนี้จะมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ บางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่าง เช่น ภาษาแอสเซมบลี
3. ภาษาระดับสูง
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ได้แก่ ภาษาซี (C)  ภาษาซี-พลัสพลัส (C++)   ภาษาจาวา (Java) ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาวิชวลเบสิก การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ และภาษาเดลฟาย
  • ภาษาซีและซี-พลัสพลัส(C/C++) เป็นภาษาที่มีใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระดับ เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่ายทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็ว ในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ  นอกจากนี้ ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรม เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า ภาษาซีพลัสพลัส
  •  ภาษาซีชาร์ป ( C#) ถูกพัฒนามาจากภาษาซี-พลัสพลัส(C++) และมีโครงสร้างแบบเชิงวัตถุ (object-oriented programming) โดยใช้ Visual Studio เป็นเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Visual Studio เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยาก
  • ภาษาจาวา(Java) เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่มีการนำภาษาจาวามาใช้งาน จะเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้ 
   อู้หูวววว เท่าที่ดูกันไปคร่าวๆ จะเห็นได้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์นี้มีเยอะแยะมากมายแต่ภาษาหนึ่งที่ฉันสนใจและจะมาอธิบายรายละเอียดก็คือภาษาJavaนั่นเอง 

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักก่อนดีกว่าว่า ภาษาจาวามีประวัติความเป็นมาอย่างไร


ขอบคุณภาพจาก http://share.olanlab.com/th/it/blog/view/37

    ภาษา Java

    Java เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนคำสั่งสั่งงานคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรของ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ในปีค.ศ.1991 ปัจจุบันเป็นส่วนนึงของออราเคิล ก่อนจะได้ชื่อว่า Java เดิมทีภาษานี้เรียกว่า ภาษา Oak ซึ่งตั้งชื่อตามต้นไม้โอ๊ก แต่มีปัญหาทางลิขสิทธิ์จึงเปลี่ยนเป็น Java ซึ่งแปลว่า "กาแฟ" แทน ดังนั้นเราจึงเห็นโลโก้เป็นรูปถ้วยกาแฟ ภาษา Java ยังถูกพัฒนาจนถึงปัจจุบันโดยทีมของออราเคิล  ภาษาJavaเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ โดยมีเป้าหมายการทำงานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพ ใช้เวลาน้อย รวดเร็วในการพัฒนาโปรแกรม และสามารถเชื่อมต่อไปยังแพล็ตฟอร์ม (Platform) อื่นๆได้ง่าย  Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งที่มีลักษณะสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) ที่ชัดเจน โปรแกรมต่าง ๆ ถูกสร้างภายในคลาส (Class) โปรแกรมเหล่านั้นเรียกว่า Method หรือ Behavior โดยปกติจะเรียกแต่ละ Class ว่า Object โดยแต่ละ Object มีพฤติกรรมมากมาย โปรแกรมที่สมบูรณ์จะเกิดจากหลาย object หรือหลาย Class มารวมกัน โดยแต่ละ Class จะมี Method หรือ Behavior แตกต่างกันไป

   รู้ประวัติแล้ว ไปดูกันว่าการเขียนภาษาจาวานั้นมีstepอย่างไรบ้าง

     การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้

  ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการพิมพ์คำสั่งต่างๆ ตามหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java โดยใช้เอดิเตอร์ (Editor) หรือโปรแกรมที่สามารถพิมพ์ข้อความ (Text Editor) และสามารถบันทึกไฟล์เป็นรหัสแอสกี (ASCII) ได้ เช่น โปรแกรม Notepad หรือ โปรแกรม Editplus เป็นต้น หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อคลาสของ Java และใช้นามสกุลไฟล์เป็น java ตัวอย่างเช่น TestJava.java


ขอบคุณภาพจาก http://settawut123456.blogspot.com/2013/05/java.html

  ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้ว มีรูปแบบคำสั่ง คือ javac  FileName.java เมื่อ FileName.java คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ที่มีนามสกุล java  ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการคอมไพล์ จะได้ไฟล์ไบต์โค้ดที่ชื่อเดียวกับชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น  javac  TestJava.java หลังจากการคอมไพล์จะได้ไฟล์ TestJava.class ข้อสำคัญในการคอมไพล์ไฟล์ซอร์สโค้ด คือต้องพิมพ์ชื่อไฟล์พร้อมนามสกุลเป็น java เสมอ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามการตั้งชื่อคลาส 
       ขั้นตอนที่ 3 ทำการรันโปรแกรม เพื่อดูผลลัพธ์ทางจอภาพโดยการรันไฟล์ไบต์โค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้วซึ่งมีรูปแบบคำสั่งคือ java  FileName เมื่อ FileName คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ไม่ต้องมีนามสกุล

          ดังนั้นการรันโปรแกรมเพียงแค่พิมพ์ชื่อไฟล์ไม่ต้องพิมพ์นามสกุลของไฟล์ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามชื่อคลาส  ตัวอย่างเช่น  java  TestJava  เมื่อ TestJava  คือชื่อไฟล์ TeatJava.class

ขอบคุณภาพจาก http://settawut123456.blogspot.com/2013/05/java.html


      เอ...จริงๆแล้วก่อนหน้านี้ภาษาก็มีตั้งมากมาย ทำไมถึงเกิดภาษาจาวาขึ้นมาอีก แสดงว่ามันต้องมีข้อดีที่ไม่เหมือนภาษาอื่นๆแน่เลย ว่าแต่จะมีข้อดีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย

   ข้อดีของภาษา Java ได้แก่
1.  ภาษา Java เป็นภาษาโปรแกรมที่ง่ายในการเรียนรู้
2. ภาษา Java เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ OOP (Object-Oriented Programming)
3. ภาษา Java เป็นอิสระต่อแพล็ตฟอร์ม (Java is Platform-Independent)

4.ภาษา Java มีระบบการทำงานและมีระบบความปลอดภัยที่ดี

  สำหรับใครที่อ่านผ่านตัวอักษร และดูจากรูปแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็สามารถดูvideoการเขียน
โปรแกรมภาษาจาวาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มความเข้าใจที่ข้างล่างนี้เลยค่า



                             ขอบคุณvideoจากhttps://www.youtube.com/watch?v=a1LX0bieeSg





ที่มา
http://krubpk.com/com_1/Content/Unit13.htm



วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social network กับนักเรียนและสังคมไทย

               


สมัยนี้ ถ้าเอ่ยคำว่า social networkปุ๊ป แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นเคยและ เกี่ยวข้อง กับสิ่งๆนี้เป็นอย่างดี แต่ก่อนที่จะไปดูว่ามันมีบทบาทอะไรยังไงกับเราและสังคมไทย เรามาทำความรู้จักอย่างเป็นทางการกับsocial networkก่อนดีกว่า


โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network ก็ คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, และTwitter เป็นต้น การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ


ปัจจุบันsocial network เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของคน ทุกคนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกระแสของ social network สังเกตได้จาก พฤติกรรมของคนในสมัยนี้เช่น เวลาขึ้นรถไฟฟ้า แต่ละคนก็มัก จะต้องหยิบsmart Phoneขึ้นมาเพื่อ เสพติดข่าวสาร เทคโนโลยี คอยแชร์ข้อมูล อัพเดตสิ่งต่างๆ โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดศัพท์บัญญัติใหม่ที่เรียกว่า สังคมก้มหน้าขึ้นมา ซึ่งการกระทำนี้หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังในการแชร์ข้อมูลอาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือหากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์นอกจากนี้การที่ผู้ใช้เล่น social network อยู่กับหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจสายตาเสียหรือบางคนอาจตาบอดจากแสงสีฟ้าบนจอโทรศัพท์มือถือได้ และ  ถ้าหากผู้ใช้อยู่ในวัยเรียน แล้วเกิดความหมกหมุ่นอยู่กับ social network มากเกินไปอาจทำให้ไม่มีสมาธิเวลาเรียน จนผลการเรียนตกต่ำลงได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแบบนั้น คนบางกลุ่มก็เลือกที่จะใช้social networkในทางที่ดี เช่น ลงขายของในinstagram   ตามหาคนหายหรือ ขอความช่วยเหลือต่างๆทางfacebook  ส่งงานอาจารย์ผ่านfacebook  สร้างกลุ่มเพื่อรับข่าวการศึกษาทั้งในline และfacebook และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สามารถแผ่ขยายได้กว้างไกล สะดวกรวดเร็วและ ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน

จากตัวอย่างการใช้social networkดังกล่าวจะเห็นว่า social network เป็นประโยชน์มาก แต่ก็มีข้อเสียอยู่ไม่น้อย ถ้าจะให้หลีกเลี่ยงการใช้social networkไปเลยก็คงลำบาก  ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ว่าจะเลือกใช้แบบไหน ให้เกิดประโยชน์กับตนเองที่สุด


ที่มา
https://sites.google.com/site/socialnetworksangkhmxxnlin05/khxdi-khx-seiy
http://www.microbrand.com
http://anusornkob.blogspot.com/