วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์เเละระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์




ที่มา https://supawannuannil.wordpress.com/
หลายๆคนก็คงจะทราบกันอยู่แล้วว่า คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์  ที่เราใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ  แต่รู้หรือไม่ว่า การทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นยังไง ถ้ายังไม่รู้ก็มาดูกันเล้ยย

เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
Ø รับข้อมูล (Input)  เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น เมาส์
Ø ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
Ø แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
Ø เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วน ...
Hardware
-เป็นส่วนที่ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ 
Software
-เป็น ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ส่งต่อไปยังซีพียู เพื่อควบคุมการประมวลผล และคำนวณ
ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
 (1) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) ...
เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์  ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เช่น window xp

 (2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
·         ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)  เช่น โปรแกรมสำหรับการซื้อขาย มีประโยชน์กับร้านค้า หรือโปรแกรมสำหรับฝากถอนเงิน 
·         ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย  เช่น Microsoft Word

เมื่อมีคอมพิวแตอร์ตั้งเอาไว้เฉยๆ ก็ดูไม่มีประโยชน์อะไร การจะใช้งานจากคอมพิวเตอร์ได้นั้นก็ต้องมีการการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปเป็น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีไว้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย

ชักอยากจะรู้รายละเอียดเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้วสิ ไปดูกันเถอะ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
1)         เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ

2)         เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network: LAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย (home network) ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย

3)        เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
 เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป  เช่น  การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน  เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network: CAN)

4)        เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน  (Wide Area Network: WAN)  เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาครวมไปถึงเครือข่ายระหว่างประเทศ

ลักษณะของเครือข่าย ในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันสามารถแง่ลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ดังนี้
       1)    เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (client-server network)


      จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ  เช่น  บริการเว็บ    การให้บริการขึ้นกับการร้องขอ บริการจากเครื่องรับบริการ  เช่น  การเปิดเว็บเพจ  เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บ  จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ
- ข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก
- ข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง  

2) เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network : P2P network)
 เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์
            -ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งาน และราคาไม่แพง
            -ข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้อง 


รูปร่างเครือข่าย การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะทางกายภาพที่เรียกว่ารูปร่างเครือข่าย (network topology) โดยทั่วไปรูปร่างเครือข่ายสามารถแบ่งออกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ 4 รูปแบบคือ

1.)    เครือข่ายแบบบัส  bus topology

เป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก สถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวที่เรียกว่า บัส (bus) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงไปถึงทุกสถานีได้ ซึ่งการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดการชนกัน (collison) ของข้อมูล โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้คลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณที่แตกต่างกัน  หากมีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบัสเพียงจุดเดียวก็จะส่งผลให้ทุกอุปกรณ์ไม่สามารถสื่อสารถึงกันได้เลย

2.)    เครือข่ายแบบวงแหวน ring topology



 เป็นการเชื่อมแต่ละสถานีเข้าด้วยกันแบบวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับ หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด สถานีนั้นก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป ซึ่งระบบเครือข่ายแบบวงแหวนนี้ สามารถรองรับจำนวนสถานีได้เป็นจำนวนมาก ข้อด้อยของเครือข่ายแบบวงแหวน คือ สถานีจะต้องรอจนถึงรอบของตนเอง ก่อนที่จะสามารถส่งข้อมูลได้ รูปร่างเครือข่ายแบบวงแหวน 


3.)    เครือข่ายแบบดาว star topology

 เป็นการเชื่อมต่อสถานีในเครือข่าย โดยทุกสถานีจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลาง เช่น ฮับ (hub) หรือสวิตซ์ (switch) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ของดีของการเชื่อมต่อแบบดาว คือ ถ้าสถานีใดเสีย หรือสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ/สวิตซ์กับสถานีใดชำรุด ก็จะไม่กระทบกับการเชื่อมต่อของสถานีอื่น ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน



4.)    เครือข่ายแบบ ไฮบริด   Hybrid





เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน


อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

1.โมเด็ม (Modem)

ที่มารูปภาพ: http://www.buycoms.com/buyers-guide/modem/index.asp


2.การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN


ที่มารูปภาพ: http://www.itdestination.com/articles/lancard1000base/


3. เกตเวย์ (Gateway)


ที่มารูปภาพ: http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan9.htm

4. เราเตอร์ (Router)


ที่มารูปภาพ: http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=417552
5. บริดจ์ (Bridge)




6. รีพีตเตอร์ (Repeater)







7.สายสัญญาณ

ที่มารูปภาพ: http://en.wikipedia.org/wiki/Coaxial_cable 



8.สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair) 

ที่มารูปภาพ: http://www.digitalfocus.co.th/network.php อธิบายภาพ



9. ฮับ (HUB)

ที่มารูปภาพ: http://it.stoulaws.com/2008/12/hub/
ที่มา ข้อมูล+รูปภาพ
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
https://praewpan56.wordpress.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

https://sites.google.com/site/wiparat0001/bth-thi-hnung
http://home.kku.ac.th/hslib/412141/412141_2548/c1s1intro.htm
http://www.dms.moph.go.th/dmsict/it03.html
http://csmju.jowave.com/cs100_v2/lesson4-4.html